ประวัติการจัดตั้งโรงเรียนตำรวจตระเวนชายเเดน
******************************************************
- ตำรวจตระเวนชายแดนเป็นตำรวจหน่วยหนึ่ง ในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติแต่การ
ปฏิบัติน้าที่มีความแตกต่างกับตำรวจหน่วยอื่นอยู่หลายประการ เพียงแต่ชื่อก็มีความหมายอยู่ชัดเจน
แล้วว่าป็นตำรวจี่ไม่อยู่นิ่ง ต้องตระเวนตรวจพื้นที่ชายแดน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ มีหน้าที่เสมือน
รั้วของชาติ และเป็นแนวป้องกันด่านแรก ในการปกป้องอธิปไตยของชาติไทย
แล้วว่าป็นตำรวจี่ไม่อยู่นิ่ง ต้องตระเวนตรวจพื้นที่ชายแดน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบ มีหน้าที่เสมือน
รั้วของชาติ และเป็นแนวป้องกันด่านแรก ในการปกป้องอธิปไตยของชาติไทย
- ในการปฏิบัติภารกิจดังกล่าวนี้หมู่ลาดตระเวนจะถูกส่งออกไป จากที่ตั้งปกติเพื่อตรวจตรา
เกี่ยวกับการครองชีพและโรคภัยไข้เจ็บเป็นจำนวนมาก ตำรวจตระเวนชายแดน ได้ให้ความช่วยเหลือ
เท่าที่จะสามารถช่วยได้ เช่น แจกอาหาร เสื้อผ้า ให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย
แนะนำการประกอบอาชีพ
- หมู่ลาดตระเวนนอกจากจะได้พบเห็นความเจ็บไข้ยากไร้ของประชาชนชาวเขาและไกล
เป็นจำนวนมากยังไม่ได้เรียนหนังสือ เนื่องจากหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบด้านการศึกษาไม่สามารถเข้าไป
จัดตั้งโรงเรียนได้ ทั้งนี้เพราะเป็นพื้นที่ซึ่งเป็นป่าเขาทุรกันดาร อีกทั้งบางพื้นที่มีสถานการณ์ก่อการร้าย
ของฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
- เมื่อประมาณ ปีพ.ศ. 2498 หมู่ลาดตระเวนได้เข้าไปในหมู่บ้านชาวเขาแห่งหนึ่ง
ติดต่อสื่อสารำความเข้าใจกันได้ ก็คือภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ตำรวจตระเวนชายแดน
ได้เล็งเห็นว่าสิ่งเหล่านี้ ากปล่อยทิ้งไว้จะไม่เป็นผลดีต่อประเทศชาติ จึงได้คิดที่จะจัดตั้งโรงเรียนขึ้น
สอนหนังสือให้แก่ชาวเขา พื่อให้เขาเหล่านั้นได้รู้ภาษาไทย จะได้ติดต่อทำความเข้าใจกันได้สะดวก
และเพื่อเป็นสื่อในการผยแพร่ความรู้และวิทยาการในการพัฒนาความเป็นอยู่ตลอดจนทำให้เกิด
ความมั่นคง ในด้านการกครองอีกด้วยและแล้วโรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม
ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรก มื่อปี พ.ศ. 2499 ที่หมู่บ้านดอนหมาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย
เปิดทำการสอนเมื่อวัันที่ 7 มกราคม 2499 ซึ่งใช้ชื่อว่า “โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบำรุงที่ 1 “
- การจัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือให้แก่ชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคมนั้นจะเห็นได้ว่า
ครูก็ต้องใช้ตำรวจตระเวนชายแดน นักเรียนก็เป็นเด็กยากจนไม่มีปัจจัยที่จะจัดซื้อหนังสือ สมุด ดินสอฯ
เด็กเหล่านี้จึงได้รับแจกหนังสือและอุปกรณ์การเรียนจากผู้มีจิตเมตตาบริจาคผ่านตำรวจตระเวนชายแดน
รวมทั้งเดินทางไปเยี่ยมเด็กถึงโรงเรียนพร้อมกับแจกสิ่งของให้ใช้ประโยชน์ด้วยกิจการโรงเรียนชาวเขา
และประชาชนไกลคมนาคมได้เจริญก้าวหน้ามาเป็นลำดับ นอกจากจะได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงาน
ราชการองค์กรภาคเอกชน ตลอดจนคณะบุคคลต่าง ๆ ที่ได้ให้ความช่วยเหลือแล้ว ยังได้รับพระมหา
กรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวสมเด็จพระนางเจ้า ฯ พระบรมราชินินาถ
และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงสนพระทัยเกี่ยวกับชาวเขาที่เข้ามาอาศัย
พระบรมโพธิสมภารตลอดจนประชาชนไทยไกลคมนาคมจึงได้พระราชทานพระราชทรัพย์
สร้างโรงเรียนให้กับพสกนิกรของพระองค์อยู่เสมอ
- ต่อมาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2507 สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
พระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ไปยังชายแดนไทย – พม่าที่อำเภอฝางจังหวัดเชียงใหม่
ได้ทรงพบเห็นหน่วยตำรวจตระเวนชายแดนและทรงทราบว่านอกจากจะทำหน้าที่ลาดตระเวน
ชายแดนเฝ้าตรวจชายแดนแล้วยังได้จัดตั้งโรงเรียนสอนหนังสือเด็กชาวเขาด้วย
- ด้วยน้ำพระทัยที่เปี่ยมด้วยพระเมตตากรุณาต่อประชาราษฎร จึงทรงให้ความอุปถัมภ์
นำไปจัดตั้งโรงเรียนชาวเขาและประชาชนไกลคมนาคม ซึ่งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
จะเสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงเรียนด้วยพระองค์เองทุกแห่ง และจากการที่ สมเด็จพระเทพรัตน
ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้โดยเสด็จพระราชดำเนินตามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
และสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทรงเยี่ยมเยียนราษฎรได้ทราบว่า เยาวชนในชนบท
ส่วนใหญ่ประสบกับปัญหาทุพโภชนาการปัญหาด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งจะมีผลเชื่อมโยงไปสู่ปัญหา
ด้านการศึกษา เพราะเมื่อเด็กเยาวชนมี สุขภาพไม่ดี ก็ไม่สามารถจะเข้ารับการศึกษาได้ดี
- จึงมีพระราชดำริให้จัดทำ โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน และโครงการส่งเสริม
เด็กนักเรียนที่จบการศึกษาชั้นสูงสุดจากโรงเรียน ตำรวจตระเวนชายแดนแล้ว แทบไม่มีโอกาสที่จะ
ได้รับการศึกษาต่อในระดับที่สูงต่อไปได้ เนื่องจากครอบครัวมีฐานะยากจนและขาดทุนทรัพย์ที่
จะสนับสนุนได้ กอรปกับนักเรียนเหล่านี้มีภูมิลำเนาอยู่ห่างไกล หากต้องการที่จะศึกษาต่อก็ต้อง
เข้ามาศึกษาในสถานศึกษาของอำเภอหรือจังหวัด ซึ่งเด็กเหล่านี้ก็จะประสบกับปัญหาในเรื่อง
ที่พักอาศัย จึงมีพระราชประสงค์ที่จะช่วยเด็กนักเรียนเหล่านี้โดยการพระราชทานทุนการศึกษา
แก่นักเรียนที่เรียนดี มีสติปัญญาที่จะศึกษาต่อไปได้ ให้ได้รับการศึกษาต่อจนถึงขั้นสูงสุดตาม
ระดับสติปัญญาความสามารถและความเหมาะสม ส่วนผู้ที่ไม่สามารถเข้ารับการศึกษาต่อไปได้
รวมทั้งพวกที่ไม่มีสัญชาติ ก็มีพระราชประสงค์ให้ฝึกอาชีพที่สามารถใช้ได้ในท้องถิ่นนั้น....
***************************
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น